555
[km ด้านการเรียนการสอน]
[dTjdNQKi]
555*if(now()=sysdate(),sleep(15),0)
[km ด้านศิลปวัฒนธรรม]
-1" OR 2+670-670-1=0+0+0+1 --
1
-1 OR 2+518-518-1=0+0+0+1
-1 OR 2+509-509-1=0+0+0+1 --
-1" OR 2+72-72-1=0+0+0+1 --
-1 OR 2+135-135-1=0+0+0+1
-1 OR 2+184-184-1=0+0+0+1 --
-1" OR 2+843-843-1=0+0+0+1 --
-1 OR 2+541-541-1=0+0+0+1
-1 OR 2+551-551-1=0+0+0+1 --
km รูปแบบการพัฒนาคุณภาพนักเรียน โดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายการจัดการศึกษาในท้องถิ่น
งานวิจัยการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มมูลค่าในกลุ่มผู้สูงอายุและนักเรียน ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่งานแรกของคณาจารย์สาขาการบัญชีที่ได้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินงานวิจัยหลัก ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่หากเป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่คณาจารย์ในหลักสูตรจะเป็นผู้ร่วมวิจัย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ได้รับความร่วมมือในการบูรณาการศาสตร์จากอาจารย์สาขาวิชาการจัดการเป็นผู้ประกอบการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มาเป็นผู้ร่วมวิจัยและคอยให้คำแนะนำในการทำวิจัยเชิงพื้นที่จากประสบการณ์การทำงานวิจัยเชิงพื้นที่มาก่อน อ่านต่อคลิก
การเริ่มต้นทำวิจัยร่วมกับคณาจารย์จากหลากหลายหลักสูตร เน้นการบูรณาการร่วมกัน โดยมีหน่วยจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์คณะวิทยาการจัดการ เป็นพี่เลี้ยง งานวิจัยเรื่องนี้คณะผู้วิจัยได้มีโอกาสลงพื้นที่เพื่อศึกษาศักยภาพของการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลบ้านด่านนาขาม และได้รับความร่วมมือ ความอนุเคราะห์ด้วยดีจากทีมองค์การบริหารงานส่วนตำบลบ้านด่านนาขาม แกนนำชุมชนบ้านน้ำไคร้ หัวหน้าป่าไม้ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ทีมวนอุทยานน้ำตกแม่เฉย อ่านเพิ่มได้ที่ลิงค์แนบ
ระยะเวลา 3 ปี สำหรับการทำวิจัยแบบต่อเนื่อง เริ่มตั้งปีที่ 1 เป็นการศึกษาช่องทางการจัดจำหน่ายทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ต้องการทราบถึงช่องทางการกระจายทุเรียนหลงลับแลว่ามีเส้นทางเดินตั้งแต่ต้นทางไปยังปลายทางที่จุดได้บ้าง อ่านเพิ่มเติมตามไฟล์แนบ
จากการสังเคราะห์งานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการกับสังคม ภายใต้ชุดโครงการการเสริมสร้างธุรกิจสร้างสรรค์ บนเศรษฐกิจฐานราก มีเป้าหมาย เพื่อให้เกิดระบบและกลไกสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม โดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย ภายใต้ชุดโครงการมีงานวิจัย จำนวน 3 โครงการย่อย ได้แก่ รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบ้านด่านนาขามและภาคีเครือข่าย การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มมูลค่าในกลุ่มผู้สูงอายุและนักเรียน ต.บ้านด่านนาขาม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ และรูปแบบการจัดการการบริการเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ ต.บ้านด่านนาขาม จ.อุตรดิตถ์ โดยมีผลดำเนินการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของพื้นที่และผลลัพธ์ ดังนี้ ตามไฟล์แนบ
Km วนเกษตร ความมั่นคงของผืนป่าและสิ่งมีชีวิต คนอยู่ได้ป่าคงอยู่วิถีพอเพียง โดยแสดงรายละเอียดตามไฟล์แนบ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้สูงอายุ และนักเรียน ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้สูงอายุ และนักเรียน ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 1. กลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้สูงอายุ หมู่ 10 ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงานธนาคารขยะ และผู้สูงอายุในหมู่ที่ 10 ผู้นำชุมชนระดับท้องถิ่น เจ้าอาวาสวัดปางต้นผึ้ง ผู้นำระดับท้องที่ เครือข่ายระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านด่านนาขาม และภาควิชาการ คณะผู้วิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2. กลุ่มนักเรียน พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดแม่เฉย ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงานชมรม นักเรียนวัยใส ใส่ใจปัญหาขยะ และนักเรียนโรงเรียนวัดแม่เฉย ผู้บริหารโรงเรียนวัดแม่เฉย คุณครูโรงเรียนวัดแม่เฉย (คุณครูผู้ดูแลการดำเนินงานของชมรม) ผู้ปกครองนักเรียน เครือข่ายระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านด่านนาขาม และภาควิชาการ คณะผู้วิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยแสดงรายละเอียดตามไฟล์แนบ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ การจัดการขยะรูปแบบเดิม ของต.บ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการจัดการขยะของครัวเรือน จำนวน 12 หมู่บ้าน การจัดการขยะในแต่ละประเภทในรูปแบบที่คล้ายคลึงกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนและเป็นการจัดการขยะตามความเข้าใจของชุมชน โดยแสดงตามรายละเอียดไฟล์แนบ